KBANK มองเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/64 ติดลบ หลังเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 รุนแรง ชี้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวได้กลางปี 65 หากรัฐเร่งจัดหาวัคซีนฉีดให้ประชาชนโดยเร็ว
KBANK มองเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/64 ติดลบ หลังเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 รุนแรง ชี้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวได้กลางปี 65 หากรัฐเร่งจัดหาวัคซีนฉีดให้ประชาชนโดยเร็ว
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยในงานสัมมนา "แนวโน้มเศรษฐกิจโลกต่อการกลับมาของ Covid-19" ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในประเทศ จนนำไปสู่การล็อกดาวน์ใน 13 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนสูงกับเศรษฐกิจในประเทศ หรือ คิดเป็นสัดส่วน 49% ของจีดีพี และ จากความไม่แน่นอนทำให้มีแนวโน้มที่จะกดดันเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 3/64
นอกจากนี้ จากการแพร่ระบาดโควิดที่ยาวนาน และ ยังไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลกระทบต่อการบริโภคในประเทศ และ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลไกลที่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย จากการที่แนวโน้มการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเดินเข้ามาได้มากขึ้นในหลาย ๆ จังหวัด อาจจะมีแนวโน้มที่ต้องเลื่อนออกไป ทำให้ภาคการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะยังไม่กลับมาฟื้นตัว โดยภาคการท่องเที่ยวมีสัดส่วน 22% ของจีดีพี
ในขณะที่ภาคครัวเรือนยังเผชิญกับผลกระทบของรายได้ที่ลดลง จากการที่กิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศต้องสะดุดไปจากมาตรการควบคุมทำให้รายได้ลดลง และ ยังมีภาระหนี้สินครัวเรือนที่มีสัดส่วนที่สูงส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อต่าง ๆ ที่ลดลงไปจากกำลังซื้อที่ลดลง แม้ว่าทางภาครัฐจะเข้ามาเยียวยาในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ บ้าง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมถึงมาตรการให้เงินสนับสนุนในโครงการต่าง ๆ แต่ยังเป็นเพียงมาตรการระยะสั้น
“ต้องดูว่าล็อกดาวน์นานแค่ไหน ปีก่อนเราล็อกดาวน์ไป 38 วัน ปีนี้ยังไม่แน่นอนว่าจะจบใน 14 วันไหม แต่อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับจีดีพีปีนี้เหลือ 1% จากเดิม 1.8% และ คาดว่าจีดีพีไตรมาส 2/64 ที่จะประกาศออกมาติดลบ 1.8% เมื่อเทียบจากไตรมาส 1/64"
ทั้งนี้เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยจะเห็นการกลับมาฟื้นตัวได้กลางปี 65 หากสถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มกลับมาดีขึ้นชัดเจน โดยรัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาได้เร็วที่สุด คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งจะต้องเร่งการจัดหาวัคซีนมาฉีดให้กับประชาชนให้มากที่สุดและ เร็วที่สุด จนทำให้กลับมาเปิดเมืองได้
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยหนุนจากภาคการส่งออกที่ยังมีการขยายตัวได้อย่างดี ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับเพิ่มประมาณการตัวเลขภาคส่งออกเพิ่มเป็นขยายตัว 11.5% จากเดิมที่ขยายตัว 9% จากการที่เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวที่ดี โดยเฉพาะเศรษฐกิจในประเทศขนาดใหญ่ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป และ จีน รวมถึงการส่งออกของไทยยังได้อานิสงส์จากการที่ไทยเป็นประเทศที่มีการผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันสินค้าในกลุ่มอิเลคทรอนิกส์มีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น
อีกทั้ง หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดยังส่งผลกระทบต่อตลาดเงินและตลาดทุน โดยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นกว่า 80,000-90,000 ล้านบาท เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติโควิดกดดันความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียน
รวมทั้งเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าทำให้เงินบาทอ่อนค่าแล้ว 8.8% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา หรือ มาอยู่ที่ระดับ 32.50-32.80 บาท/ดอลลาร์ และ อ่อนค่ามากที่สุดในเอเชีย แต่เชื่อว่า เงินบาทจะกลับมาฟื้นได้คาดสิ้นปี 64 จะอยู่ที่ระดับ 30.50-31.00 บาท/ดอลลาร์
ลักษณะธุรกิจของ KBANK
ธนาคารกสิกรไทยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ และประกาศที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ธนาคารมีเครือข่ายสาขาจำนวน 886 สาขา และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์สำหรับทำธุรกรรมด้วยตนเอง 10,973 เครื่อง ครอบคลุมทุกพื้นที่และเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ ธนาคารมีเครือข่ายการให้บริการในต่างประเทศรวม 16 แห่ง ใน 8 ประเทศ มีศูนย์กลางการดำเนินงานและให้บริการที่สำนักงานใหญ่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น