องค์การเภสัชกรรมทำสัญญาจัดซื้อATK กับ “บริษัท เวิลด์ เมดิคอล แทน ออสแลนด์ ผิดกฎหมายหรือไม่


 


CHANGE The World รสนา โตสิตระกูล


องค์การเภสัชกรรมทำสัญญาจัดซื้อATK กับ “บริษัท เวิลด์ เมดิคอล แทน ออสแลนด์ ผิดกฎหมายหรือไม่


เมื่อวันที่ 30 ส.ค 2564 องค์การ เภสัชกรรม (จีพีโอ/อภ))ลงนามสัญญาซื้อ ATK 8.5 ล้านชุด ให้ สปสช.และโรงพยาบาลราชวิถีแล้ว ที่น่าแปลกใจคือเป็นการลงนามทำสัญญากับ “บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ ประเทศไทย จำกัด” ทั้งที่ในข่าววันที่11 ส.ค 2564 ขององค์การเภสัชกรรม ระบุว่าบริษัทที่ชนะประมูล เพราะเสนอราคาต่ำสุดคือ “บริษัทออสแลนด์ แคปปิตอล” ไม่มีชื่อของบริษัทเวิลด์เมดิคอลฯปรากฎมาก่อน

การที่บริษัทที่เป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัทที่ชนะประมูลสวมสิทธิมาเป็นคู่สัญญากับรัฐแทนนั้น น่าจะไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ 2560 หรือไม่

ตามพรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ 2560 ในมาตรา 64 ระบุถึงคุณสมบัติของผู้เข้าประมูลการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม โดยให้หน่วยงานของรัฐกําหนดเป็นเงื่อนไขในประกาศและเอกสารเชิญชวนว่าผู้ที่จะเข้ายื่นข้อเสนอต้องแสดงหลักฐานถึงขีดความสามารถและความพร้อมที่ตนมีอยู่ในวันยื่นข้อเสนอด้วย

การที่ออสแลนด์ แคปปิตอลยอมให้เวิลด์ เมดิคอลมาสวมสิทธิเซ็นสัญญากับรัฐ จะแสดงว่าบริษัทออสแลนด์ขาดคุณสมบัติและความสามารถในการจัดหา ATK และจัดส่งให้กับองค์การเภสัชกรรมตามสัญญาที่ประมูล ใช่หรือไม่
หาก จีพีโอ จะอ้างว่าตนเองเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพรบ.การจัดซื้อจัดจ้าง ฯ ตามข้อยกเว้นในมาตรา 7(1) (2)

มาตรา ๗ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
(๒) การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เก่ียวกับความมั่นคงของชาติโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือโดยการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศที่กฎหมายของประเทศนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น

แต่อย่างไรก็ดี การยกเว้นนั้นก็เป็นเพียงการยกเว้นในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเท่านั้น แต่จะไม่ได้รับการยกเว้นให้สามารถยินยอมให้นิติบุคคลอื่นที่ไม่ได้ชนะประมูลมาสวมสิทธิเป็นคู่สัญญากับองค์การเภสัชกรรมแทนได้

กรณีดังกล่าวจึงมีข้อพิจารณาว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่องค์การเภสัชกรรมต้องตอบสังคมให้ชัดแจ้ง

ดิฉันเคยเขียนสนับสนุนการใช้ ATK มาตรวจเชื้อเชิงรุกตั้งแต่เกิดคลัสเตอร์ที่คลองเตยเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2564 เพื่อแยกผู้ติดเชื้อออกมารักษาให้เร็วที่สุด เมื่อแยกผู้ติดเชื้อบวกออกมา แล้วตรวจซ้ำด้วยRT PCR จะเป็นการตรวจเชิงรุกที่ประหยัด มีประสิทธิภาพ และแยกผู้ติดเชื้อได้เร็วที่สุด







ดังนั้นอุปกรณ์ATKสำหรับตรวจเชื้อเชิงรุกอย่างรวดเร็วต้องมีความแม่นยำ ไม่เกิดผลลบลวงซึ่งสำคัญที่สุด เพราะจุดประสงค์ของการตรวจเชิงรุกด้วยATK คือการแยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้ไม่ติดให้เร็วที่สุดเพื่อหยุดการแพร่ระบาด
นอกจาก ATK ต้องมีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นประเด็นที่ดิฉันเคยให้ความเห็นว่าราคากลางที่อภ.ตั้งไว้สูงเกินไปสำหรับATKที่ประมูลชนะในครั้งนี้ เพราะราคาตลาดที่รับรู้กันทั่วไปของATK ยี่ห้อนี้ มีราคาแค่30กว่าบาท นอกจาก อภ.ไม่ได้สนใจคำทักท้วงดังกล่าวในการจัดซื้อในราคาที่เหมาะสม ทั้งที่อภ.มีสิทธิทำได้ ตามกรอบในแบบยื่นซองเสนอราคาขององค์การเภสัชกรรม มีการสงวนสิทธิ์ในข้อ 4.1 ผู้เสนอราคาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด องค์การเภสัชกรรมจะไม่พิจารณาซื้อหรือพิจารณาซื้อรายถัดไป แล้วแต่จะเห็นสมควร และ 4.2 องค์การเภสัชกรรมทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะลดหรือเพิ่มจำนวน จะงดซื้อหรือเลือกซื้อโดยไม่จำเป็นต้องซื้อจากผู้เสนอราคาต่ำสุดเสมอไป รวมทั้งสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณายกเลิกการเสนอราคาเพื่อประโยชน์ขององค์การเภสัชกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งแสดงว่าองค์การเภสัชกรรมสามารถยกเลิกการประมูลในครั้งนี้ได้

นอกจากจีพีโอจะไม่พิจารณาในเรื่องราคาที่เหมาะสมแล้ว เมื่อทำสัญญาจีพีโอก็มีการปล่อยให้บริษัทที่ไม่ใช่ผู้ชนะประมูลมาสวมสิทธิเซ็นต์สัญญากับรัฐ ซึ่งมีความผิดปกติว่ามีอะไรที่ซ่อนเร้นอยู่ ใช่หรือไม่

ดิฉันจึงขอเรียกร้องให้กรมบัญชีกลาง และ ผู้ว่าตรวจเงินแผ่นดิน (สตง) ที่เป็นองค์กรตรวจสอบภายในหน่วยงานภาครัฐเข้ามาตรวจสอบกรณีนี้ว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส ราคาเป็นธรรมต่อเงินของแผ่นดิน และถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่
รสนา โตสิตระกูล
1 กันยายน 2564

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

KTC receives the Excellent Organization Award from the National Cyber Security Agency (NCSA) for developing people in cybersecurity.

คปภ.ลงพื้นที่เร่งช่วยเหลือด้านการประกันภัยเป็นการด่วน เหตุอดีตตำรวจคลั่งกราดยิง 36 ศพ ที่หนองบัวลำภู

วิริยะประกันภัยลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.เชียงใหม่